วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มหิดล แปร "แมคคาเดเมีย" เหลือทิ้งเป็นถ่านเพื่อสุขภาพ



มหิดล แปร "แมคคาเดเมีย" เหลือทิ้งเป็นถ่านเพื่อสุขภาพ นักวิจัยมหิดลคิดค้นถ่านเพื่อสุขภาพจากถั่วแมคคาเดเมีย ที่ให้ประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าแค่การดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ใช้ต้มดื่มหรืออาบได้ต่างน้ำแร่ราคาแพงแต่ราคาเบาๆ ค่อยๆ แผ่รังสีความร้อน ทำให้ร่างกายอบอุ่น กระตุ้นการทำงานของระบบหมุนเวียนโลหิต เตรียมต่อยอดผลิตเป็นถุงเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูก

รศ.ดร.จิตต์ ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คิดค้น "ถ่าน แมคคาเดเมียเพื่อสุขภาพ” จากเปลือกและเมล็ดถั่วแมคคาเดเมียเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตถั่วแมคคาเดเมีย ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นกว่าถ่านธรรมดาทั่วไป ใช้ได้ทั้งดับกลิ่น ต้มน้ำดื่มและอาบ ใช้ในขั้นตอนปรุงอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและรสชาติ ตลอดจนเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เมื่อเลิกใช้งาน

"กระบวนการ ผลิตถั่วแมคคาเดเมียของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงที่เน้นคุณภาพมาก ทำให้มีถั่วที่ไม่ผ่านการคัดเลือกเหลือทิ้งกว่า 70% และเปลือกถั่วอีกจำนวนหนึ่ง จึงคิดหาวิธีเพิ่มมูลค่าให้ถั่วและเปลือกถั่วเหลือทิ้งเหล่านั้น จนในที่สุดก็ได้เป็นถ่านแมคคาเดเมียเพื่อสุขภาพ เพื่อให้มีประโยชน์และมีมูลค่ามากกว่าถ่านดูดกลิ่นทั่วไปตามท้องตลาด" รศ.ดร.จิตต์ลัดดา กล่าวถึงที่มาของถ่านแมคคาเดเมีย

ถ่าน แมคคาเดเมียจากการวิจัยของทีม รศ.ดร.จิตต์ลัดดา มีคุณสมบัติและคุณประโยชน์มากกว่าถ่านไม้หุงต้มทั่วไป เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตที่เริ่มเผาแมคคาเดเมียที่อุณหภูมิต่ำนาน 4 ชั่วโมง และค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนความร้อนสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส นาน 1 วัน ทำให้ขจัดความชื้นและสารอินทรีย์ต่างๆ ออกไปได้หมด คงเหลือไว้แต่ธาตุคาร์บอนและแร่ธาตุอื่นๆ เท่านั้น การจัดเรียงตัว ของธาตุคาร์บอนในถ่านมีความเป็นระเบียบและแข็งแรงมากขึ้น มีโครงสร้างเป็นหกเหลี่ยมและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ทั่วโมเลกุล เมื่อเคาะจะได้ยินเสียงกังวานคล้ายเคาะลงบนโลหะ และยังมีรูพรุนมากมาย โดย ถ่านแมคคาเดเมีย 1 กรัม ประกอบด้วยรูพรุนราว 250 ตารางเมตร หรือพื้นที่ประมาณ 1 สนามเทนนิส

"รูพรุน จำนวนมากทำให้ประสิทธิภาพในการดูดกลิ่นสูง และถ่านแมคคาเดเมียจะไม่เลอะเทอะหรือมีผงถ่านหลุดร่วงออกมา เนื่องจากขจัดความชื้นออกไปหมดแล้ว และธาตุคาร์บอนในถ่านยึดเกาะกันด้วยพันธะที่เป็นระเบียบและแข็งแรงมากขึ้น ขณะที่ถ่านทั่วไปถูกเผาที่อุณหภูมิประมาณ 400-700 องศาเซลเซียส ซึ่งมีรูพรุนน้อยกว่า และยังมีความชื้นและสารอินทรีย์หลงเหลืออยู่ ทำให้ผงถ่านสีดำหลุดร่วงออกมา" รศ.ดร.จิตต์ลัดดา อธิบายเปรียบเทียบ

รศ.ดร.จิตต์ ลัดดา ยังบอกอีกว่า ถ่านแมคคาเดเมียยังให้ประโยชน์อีกหลายอย่างนอกจากการดูดกลิ่นอับชื้นและสาร พิษต่างๆ แล้ว ยังสามารถใช้ทำน้ำแร่สำหรับดื่มหรืออาบได้ด้วย เพราะประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากมายเช่นเดียวกับน้ำแร่ในธรรมชาติ เช่น โซเดียม โปแตสเซียม เป็นต้น เพียงแค่นำถ่านแมคคาเดเมียต้มในน้ำเดือดนาน 10-20 นาที เพื่อฆ่าเชื้อ (sterile) จากนั้นนำไปแช่ในน้ำดื่ม ซึ่งจะช่วยดูดคลอรีน ขณะเดียวกันก็ปล่อยแร่ธาตุอื่นออกมาแทนที่ แต่สำหรับน้ำแร่อาบไม่จำเป็นต้องต้มฆ่าเชื้อก่อน ซึ่งใช้ในลักษณะนี้ได้นานราว 1 เดือน

คุณสมบัติเด่น อีกประการของถ่านแมคคาเดเมียคือ สามารถสร้างประจุลบและปล่อยรังสี อินฟราเรดยาวหรือฟาอินฟาเรด (Far Infrared Ray) ซึ่งมีความยาวคลื่น 6-14 ไมโครเมตร ช่วยป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves) จากทีวี คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ ได้เมื่อนำไปวางไว้ใกล้ๆ อุปกรณ์เหล่านั้น ประจุลบในโมเลกุลสามารถ จับกับอนุมูลอิสระในอากาศได้ จึงเปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศไปในตัว

"รังสีฟาอิน ฟาเรดจะค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมา เมื่อนำมาวางใกล้ตัวหรือแช่น้ำอาบจะทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น นอนหลับง่าย จิตใจสุขุมมากขึ้น" รศ.ดร.จิตต์ลัดดา กล่าวและต่อว่า สามารถนำถ่านแมคคาเดเมียที่ฆ่าเชื้อแล้วมาใส่ในหม้อ หุงข้าวหรือตุ๋นเนื้อสัตว์ การแผ่รังสีฟาอินฟาเรดจะช่วยให้ข้าวและเนื้อสัตว์สุกเร็วและสุกอย่างทั่วถึง ทั้งยังมีรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น เนื่องจากถ่านแมคคาเดเมียมีธาตุโซเดียมอยู่ เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดอะมิโนกลูตามิคในอาหารจะเกิดเป็นโมโนโซเดีย มกลูตาเมต ซึ่งก็คือผงชูรสจากธรรมชาตินั่นเอง

ถ่าน แมคคาเดเมียแต่ละลูกใช้ดูดกลิ่นได้นานหลายเดือน หลังจากเลิกใช้แล้วจะนำไปเผาเพื่อทำอาหารปิ้งย่างได้ดี เพราะให้ความร้อนสูง มีขี้เถ้าน้อย ไม่แตกสะเก็ดไฟระหว่างเผาไหม้ และไม่มีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพระเหยออกมา หรืออาจนำไปวางไว้ใต้ต้นไม้ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดินได้

นอกจาก นี้ รศ.ดร.ยังมีโครงการร่วมกับแพทย์โรคกระดูก ในการนำถ่านแมคคาเดเมียไปเป็นวัตถุดิบผลิตถุงมือและถุงเท้าสำหรับเพื่อใช้ ให้ความอบอุ่นกับร่างกายและบรรเทาอาการเจ็บปวดในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์และข้อ อักเสบ

ผู้สนใจผลิตภัณฑ์ถ่านแมคคาเดเมียเพื่อสุขภาพ ติดต่อได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล โทรศัพท์ 02-2015110

ในอีกไม่ช้า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้จะมีวางจำหน่าย ที่ร้าน Urban Tree ด้วยน่ะ ประมาณเดือนหรือสองเดือนน่ะครับ

ที่มาของบทความ: http://siweb.dss.go.th/news/show_abstract.asp?article_ID=1504

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น